อี-อาร์โมเดลกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
หัวเรื่อง
เรื่องที่
2.1 การออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดล
2.2
ปัญหาจากการออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดล
2.3
การแปลงฐานข้อมูลที่ออกแบบด้วยอี-อาร์โมเดลเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
แนวคิด
- การออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดลประกอบด้วย
6 ขั้นตอน คือ
การศึกษารายละเอียดและลักษณะหน้าที่งานของระบบ
การกำหนดเอนทิตีที่ควรมีในระบบฐานข้อมูล
การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี
การกำหนดคุณลักษณะของเอนทิตี
การกำหนดคีย์หลักของแต่ละเอนทิตี
และการนำสัญลักษณ์ที่ใช้ในอี-อาร์โมเดลมาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
- ปัญหาจากการออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดลส่วนมากมักเกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี
ตัวอย่างเช่น ปัญหา Fan Trap
เป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะการจัดความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการแสดงข้อมูลที่สนใจออกมา
ซึ่งเกิดจากการที่ เอนทิตีหนึ่งมีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่มกับเอนทิตีอื่นตั้งแต่สองเอนทิตีขึ้นไป
และปัญหา Chasm Trap
ซึ่งเกิดจากการที่เอนทีตีหนึ่งมีความสัมพันธ์กับเอนทิตีอื่นตั้งแต่สองเอนทิตีขึ้นไป
แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลได้
- การแปลงฐานข้อมูลที่ออกแบบด้วยอี-อาร์โมเดลเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่หนึ่ง การแปลงเอนทิตีในอี-อาร์โมเดลให้เป็นรีเลชัน
และการแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชัน
ขั้นที่สอง
การแปลงรายละเอียดของเอนทิตีให้เป็นแอททริบิวต์ของรีเลชัน
รวมทั้งการกำหนดคีย์หลักและคีย์นอกของแต่ละรีเลชัน
และขั้น ที่สาม
การพิจารณาเค้าร่างข้อมูลในแต่ละรีเลชันที่ได้จากสองขั้นตอนแรก
วัตถุประสงค์
หลังจากศึกษาตอนที่
3.2 แล้ว นักศึกษาสามารถ
- บอกขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดลได้
- บอกตัวอย่างของปัญหาจากการออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดลได้
- บอกขั้นตอนการแปลงฐานข้อมูลที่ออกแบบด้วยอี-อาร์โมเดลเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ได้