แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน

หัวเรื่อง

เรื่องที่
1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์ในแต่ละรีเลชัน
1.2 วัตถุประสงค์ในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน

แนวคิด

    1. แอททริบิวต์ในแต่ละรีเลชันอาจมีความสัมพันธ์กันได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อทราบค่าของแอททริบิวต์หนึ่งสามารถทราบค่าของแอททริบิวต์อื่นของทูเพิลในรีเลชันได้ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่าง แอททริบิวต์ในแต่ละรีเลชันอาจจำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบฟังก์ชัน ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบหลายค่า และความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบ Join
    2. วัตถุประสงค์หลักในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน คือ เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จัดเก็บในแต่ละรีเลชัน ซึ่งเป็นผลทำให้ลดเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล ลดปัญหาข้อมูลไม่ถูกต้อง รวมทั้งลดปัญหาที่เกิดจากการเพิ่ม ปรับปรุง และลบข้อมูล

วัตถุประสงค์

หลังจากที่ศึกษาตอนที่ 4.1 แล้ว นักศึกษาสามารถ

  1. ผู้เรียนสามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์ในแต่ละรีเลชันได้
  2. ผู้เรียนสามารถบอกวัตถุประสงค์ในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานได้