แผนการสอนประจำบทเรียน

 

รายชื่ออาจารย์ผู้จัดทำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฎฐพร พิมพายน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภา เจริญภัณฒรักษ์
อาจารย์ กฤษณา นิติเกตุกุล

รายละเอียดของเนื้อหา

ตอนที่ 1 การฟื้นสภาพ 

เรื่องที่ 
1.1 ประเภทของการเกิดความขัดข้อง
1.2 การกู้ข้อมูลจากความขัดข้องที่เกิดจากระบบคอมพิวเตอร์
1.3 การกู้ข้อมูลจากความขัดข้องที่เกิดจากข้อผิดพลาดของรายการและสื่อบันทึกข้อมูล

ตอนที่ 2 การควบคุมภาวะความพร้อมกัน

เรื่องที่ 
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลพร้อมกัน
2.2 ประเภทและระดับของการล็อค
2.3 ปัญหาและวิธีการแก้ไข deadlock
2.4วิธีการควบคุมภาวะความพร้อมกัน

แนวคิด

    1. การประมวลผลข้อมูลที่มีผู้ใช้เพียงคนเดียว การป้องกันข้อมูลจากความผิดพลาดของระบบจะไม่เกิดความยุ่งยากมากนัก แต่การประมวลผลที่มีผู้ใช้หลายคนในระบบพร้อมกันและมีการใช้ฐานข้อมูลร่วมกันในการการป้องกันข้อมูลจากความผิดพลาดของระบบ(recovery)จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมาก ซึ่งจะต้องมีการการฟื้นสภาพ (Recovery)โดยการกู้ข้อมูล
    2. ฐานข้อมูลเป็นระบบที่ให้ผู้ใช้หลายๆคนสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและจัดการข้อมูลพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น DBMS จะต้องมีการควบคุมภาวะการเข้าถึงข้อมูลพร้อมกัน(Concurrency Control)

วัตถุประสงค์

หลังจากศึกษาบทเรียนที่ 11 แล้ว นักศึกษาสามารถ

    1. บอกลักษณะและความหมายของการการพื้นสภาพได้
    2. บอกการควบคุมภาวะการเข้าถึงข้อมูลพร้อมกันได้

กิจกรรมการเรียนการสอน

กิจกรรมที่นักศึกษาต้องทำสำหรับการเรียนการสอน ได้แก่

    1. ศึกษาเอกสารการสอน
    2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอนแต่ละตอน

สื่อการสอน

    1. เอกสารการสอนของชุดวิชา
    2. แบบฝึกปฏิบัติ
    3. บทความ/ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
    4. การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์
    5. CD-ROM
    6. Homepage ของชุดวิชาผ่านทางอินเตอร์เน็ต

เอกสารประกอบการสอน

    1. Fundamentals of Database Systems, by Ramez Elmasri, Shamkant B. Navathe, The Second Edition, 1994
    2. Database System Concepts, by Abraham Siberschaty, Henry F.Korth, S.Sudarshan, The Third Edition, 1991

ประเมินผล

    1. ประเมินผลจากแบบฝึกหัด/ทดสอบ ในแต่ละบท
    2. ประเมินผลจากการสอนประจำภาคการศึกษา