แผนการสอนประจำบทเรียน

รายชื่ออาจารย์ผู้จัดทำ ศิรินุช เทียนรุ่งโรจน์

รายละเอียดของเนื้อหา

ตอนที่ 1 Key Rule

เรื่องที่
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
1.2 คีย์

ตอนที่ 2 Algebra Rule

เรื่องที่
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับ Relation Algebra
2.2 Relation Algebra พื้นฐาน

ตอนที่ 3 Constraints

เรื่องที่
3.1 Constraints

ตอนที่ 4 Cartesian Rule

เรื่องที่
4.1 Cartesian product
4.2 Join

แนวคิด

  1. ในปัจจุบันฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและเป็นที่นิยมใช้ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างมาก แนวความคิดที่สนับสนุนหรืออยู่เบื้องหลังของรูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์มาจากรูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า relational algebra และ relational calculus
  2. รูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การเก็บข้อมูลจะเป็นแบบรูปตาราง 2 มิติคือ แถวและคอลัมน์นั้นจำเป็นต้องมีคอลัมน์หรือกลุ่มของคอลัมน์ในตารางที่ระบุแต่ละแถวได้อย่างชัดเจน คอลัมน์หรือกลุ่มของคอลัมน์ที่เห็นได้เด่นชัดนี้ที่ใช้ระบุแต่ละแถวและทำให้แถวทั้งหมดแตกต่างกันเรียกว่า กุญแจหลัก (key)
  3. รูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการดูได้โดยผู้ใช้สามารถใส่เงื่อนไขบังคับ (constraints) เพื่อได้คำตอบที่ต้องการ
  4. ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลจากหลายๆตารางมารวมกันได้ตามที่ต้องการโดยอาศัยกฎของความสัมพันธ์มาจากรูปแบบทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย คือ Cartesian Rule

วัตถุประสงค์

หลังจากศึกษาบทเรียนที่ 1 แล้ว นักศึกษาสามารถ

  1. เข้าใจแนวความคิดของรูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ บอกถึงรูปแบบและลักษณะที่สำคัญของ relational algebra และ relational calculus
  2. เข้าใจหลักการและทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังของรูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และการกระทำกับข้อมูลที่ต้องการที่ถูกจัดเก็บในฐานข้อมูล

กิจกรรมการเรียนการสอน

กิจกรรมที่นักศึกษาต้องทำสำหรับการเรียนการสอน ได้แก่

  1. ศึกษาเอกสารการสอน
  2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอนแต่ละตอน

สื่อการสอน

  1. เอกสารการสอนของชุดวิชา
  2. แบบฝึกปฏิบัติ
  3. บทความ/ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
  4. การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์
  5. CD-ROM
  6. Homepage ของชุดวิชาผ่านทางอินเตอร์เน็ต

เอกสารประกอบการสอน

  1. Fundamentals of Database Systems, by Ramez Elmasri, Shamkant B. Navathe, The Second Edition, 1994
  2. Database System Concepts, by Abraham Siberschaty, Henry F.Korth, S.Sudarshan, The Third Edition, 1991

ประเมินผล

  1. ประเมินผลจากแบบฝึกหัด/ทดสอบ ในแต่ละบท
  2. ประเมินผลจากการสอนประจำภาคการศึกษา