Back to Home

DataBase System

Lesson1345679101112131415

Lesson 2 : Relational Data Model



Lesson Plan
Section No.
Section 1
Section 2
Section 3
Section 4
Test
PDF file
PPT File

<<Prev pageCourse MapNext page>>

Print content of this page
Save content of this page

 

พื้นฐาน Relational Algebra

Relational Algebra ใช้ในการจัดการข้อมูลโดยระบุตัวกระทำ (operand) กับความสัมพันธ์ที่ต้องการจัดการ และจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นความสัมพันธ์ใหม่ Relational Algebra เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Relational query language ที่ประกอบไปด้วยรูปแบบที่ใช้ในการจัดการและค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ Query language ในที่นี้ไม่ใช่ Programming language ดังนั้นจึงไม่ได้สนับสนุนการคำนวณที่ซับซ้อนนัก แต่สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยวิธีง่ายๆ และมีประสิทธิภาพ

Query language ที่ใช้กับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์มี 2 รูปแบบ คือ

  1. Relational Algebra ประกอบด้วยตัวกระทำต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์มากในการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
  2. Relational Calculus เป็นภาษาที่อาศัยหลักการทางตรรกะคณิตศาสตร์เพื่อการจัดการข้อมูล

ตัวกระทำกับความสัมพันธ์ใน Relational Algebra แบ่งตามประเภทการใช้งาน แยกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. การใช้งานขั้นพื้นฐาน ได้แก่

  • Selection (s ). เลือกแถวจากความสัมพันธ์
  • Projection (p ) เลือกเฉพาะคอลัมน์ที่ต้องการจากความสัมพันธ์
  • Cross- product (X) สามารถรวมความสัมพันธ์ได้
  • Set difference (- ) หาความแตกต่างระหว่าง 2 ความสัมพันธ์
  • Union (È ) เชื่อมความสัมพันธ์ 2 อันเข้าด้วยกัน
  1. การใช้งานขั้นสูง ได้แก่ Intersection, join , division, renaming

ตัวกระทำกับความสัมพันธ์ใน Relational Algebra แบ่งตามการกระทำกับความสัมพันธ์แยกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • Unary operators คือ ตัวกระทำที่ต้องการเพียงความสัมพันธ์เดียว เช่น select, project และ rename
  • Binary operators คือ ตัวกระทำที่ต้องการสองความสัมพันธ์ เช่น Union, Intersection, Difference และ Cartesian product.
 

 

Last Updated: 12/13/2001 11:23:12 AM
© โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย