แผนการสอนประจำบทเรียน

รายชื่ออาจารย์ผู้จัดทำ อาจารย์วิทวัส พันธุมจินดา

รายละเอียดของเนื้อหา

ตอนที่ 1 แนวคิดฐานข้อมูลเชิงวัตถุ

เรื่องที่ 
1.1 โมเดลข้อมูลเชิงวัตถุ
1.2 ภาษาเชิงวัตถุ 

ตอนที่ 2 แนวคิดฐานข้อมูลเชิงวัตถุ-สัมพันธ์

เรื่องที่ 
2.1 ความสัมพันธ์เชิงกลุ่ม
2.2 ชนิดข้อมูลที่ซับซ้อนและแนวทางเชิงวัตถ
ุ2.3 การสืบค้นข้อมูลชนิดที่ซับซ้อน
2.4 การสร้างค่าข้อมูลที่ซับซ้อนและวัตถุ

แนวคิด

1. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใหม่ ๆ ของโปรแกรมประยุกต์ในปัจจุบัน ซึ่งโมเดลข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์ไม่สามารถตอบสอนต่อความต้องการเหล่านั้นได้ และในการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงวัตถุก็จะเกี่ยวข้องกับโมเดลข้อมูลเชิงวัตถุ และการโปรแกรมเชิงวัตถุ

2. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ-สัมพันธ์เป็นโมเดลของข้อมูลที่เพิ่มคุณสมบัติเชิงวัตถุ ให้กับโมเดลเชิงสัมพันธ์เพื่อให้สนับสนุนชนิดข้อมูลได้หลากหลายขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มแนวคิดเชิงวัตถุเข้าไปในภาษาสืบค้นข้อมูลด้วย

วัตถุประสงค์

1. ให้ผู้เรียนเข้าใจลักษณะของฐานข้อมูลเชิงวัตถุ ทั้งโมเดลข้อมูลเชิงวัตถุ หลักการเชิงวัตถุ และภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ

2. ให้ผู้เรียนเข้าใจในลักษณะความสัมพันธ์เชิงกลุ่ม(Nested Relations) ชนิดข้อมูลที่ซับซ้อน การจัดการข้อมูลที่ซับซ้อน และการสืบค้นข้อมูลจากความสัมพันธ์เชิงกลุ่ม โดยวิธีการเชิงวัตถุ

กิจกรรมการเรียนการสอน

1. ศึกษาเอกสารการสอน

2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอนแต่ละตอน

สื่อการสอน

1. เอกสารการสอนของชุดวิชา

2. แบบฝึกปฏิบัติ

3. บทความ/ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

4. การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์

5. CD-ROM

6. Homepage ของชุดวิชาผ่านทางอินเตอร์เน็ต

เอกสารประกอบการสอน

1. Abraham Silberschatz , Henry F. Korth , S. Sudarshan Database System Concepts, Third Edition, Mc Graw Hill, 1997.

2. Raghu Ramakrisanan, Johannes Gehrke Database Management Systems, Second Edition, Mc Graw Hill, 2000

3. Elemasri, Ramez and Navathe, Sinamkant B. Fundamentals of Database Systems, California: The Benjamin/Cummings Pub. Co., 1989.

ประเมินผล

    1. ประเมินผลจากกิจกรรมที่ทำ
    2. ประเมินผลจากคำถามท้ายบทเรียนและการสอนประจำภาคการศึกษา