Back to Home

DataBase System

Lesson123456791011121315

Lesson 14 : Object-Oriented Database



Lesson Plan
Section No.
Section 1
Section 2
Test
PDF file
PPT File


<<Prev pageCourse MapNext page>>

Print content of this page
Save content of this page

 

การสร้างค่าข้อมูลที่ซับซ้อนและการสร้างวัตถุ

ที่ผ่านมาเป็นการกำหนดชนิดข้อมูลที่ซับซ้อน และการสืบค้นข้อมูลในรีเลชันที่มีการกำหนดชนิดข้อมูลที่ซับซ้อน ในหัวข้อนี้จะเป็นการสร้างและปรับปรุงข้อมูลในรีเลชันที่มีชนิดข้อมูลที่ซับซ้อน

เราสามารถเพิ่มข้อมูลหนึ่งทูเปิลในรีเลชัน employee ได้ดังนี้

(105, “John”, set(“Jane”, “Eric”), set((125, “02/05/80”), (168, “07/06/81”), (198, “03/04/83”)))

จากคำสั่งดังกล่าว จะเห็นว่าเราสร้างค่าข้อมูลของแอตทริบิวต์ผสม(composite attribute) โดยการกำหนดเป็นรายการไว้ในวงเล็บ และใช้คำหลัก set เป็นตัวบอกว่า เป็นชนิดข้อมูลที่ซับซ้อน ดังนั้นถ้าจะเขียนให้อยู่ในรูปของคำสั่ง SQL สามารถเขียนได้ดังนี้

insert into employee values (

105, “John”, set(“Jane”, “Eric”),

set((125, “02/05/80”), (168, “07/06/81”), (198, “03/04/83”)) )

อีกทั้งเราสามารถที่จะใช้ข้อมูลที่ซับซ้อนในการสืบค้นข้อมูลได้อีกด้วย ดังตัวอย่างเช่น

select empno, name

from employee

where name in set(”John”,”Anna”,”Tom”)

คำสั่งข้างต้นเป็นการสืบค้นข้อมูล รหัสพนักงานและชื่อพนักงาน จากรีเลชัน employee ที่มีชื่อเป็น “John” หรือ “Anna” หรือ “Tom”

เราสามารถสร้างค่าข้อมูลแบบ multiset โดยใช้คำสั่ง multiset แทน set ได้ ซึ่งผลลัพธ์จะเป็นการสร้างรายการหรืออะเรย์ของข้อมูลภายในทูเปิลหนึ่ง ๆ

ในการสร้างอ๊อปเจ็กของข้อมูล เราจะใช้ฟังก์ชัน constructor ซึ่งฟังก์ชัน constructor ของชนิดข้อมูล T คือ T() เมื่อ constructor ถูกเรียกขึ้นมาสร้างอ๊อปเจ็กใหม่ของ T ก็จะทำการกำหนด oid ให้กับอ๊อปเจ็กและส่งอ๊อปเจ็ก กลับมา จากนั้นข้อมูลแต่ละตัวของอ๊อปเจ็กก็จะถูกกำหนดค่าข้อมูล

เราสามารถใช้คำสั่ง update เพื่อปรับปรุงข้อมูลในรีเลชันที่ซับซ้อนได้ เหมือนกับคำสั่ง update ที่ใช้ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

 

Go to top

 

Last Updated: 12/13/2001 11:29:04 AM
© โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย