แผนการสอนประจำบทเรียน

รายชื่ออาจารย์ผู้จัดทำ ชุติมณฑน์ บุญมาก

รายละเอียดของเนื้อหา

ตอนที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน

เรื่องที่
1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์ในแต่ละรีเลชัน
1.2 วัตถุประสงค์ในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน

ตอนที่ 2 การทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน

เรื่องที่
2.1 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 1
2.2 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 2
2.3 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 3
2.4 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานของบอยส์และคอดด์
2.5 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 4
2.6 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 5
2.7 ข้อควรคำนึงในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน

แนวคิด

  1. การออกแบบเค้าร่างของข้อมูลเป็นการกำหนดรีเลชันต่าง ๆ รวมถึงแอททริบิวต์ในแต่ละรีเลชันเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยการกำหนดหรือออกแบบเพื่อให้ได้เค้าร่างข้อมูลที่ดีควรจะเป็นการออกแบบที่สามารถลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับฐานข้อมูลให้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้ออกแบบควรจะต้องทราบความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์ในแต่ละรีเลชัน และวัตถุประสงค์ในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน
  2. การทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน เป็นกระบวนการนำเค้าร่างของรีเลชันมาทำให้อยู่ใน รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้แน่ใจว่าการออกแบบเค้าร่างของรีเลชันเป็นการออกแบบที่ เหมาะสม โดยการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานจะทำให้ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลใน รีเลชันซึ่งเป็นการลดเนื้อที่ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และลดความผิดพลาดในการปรับปรุงข้อมูลไม่ครบถ้วน

วัตถุประสงค์

หลังจากศึกษาบทเรียนที่ 4 แล้ว นักศึกษาสามารถ

  1. บอกแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานได้
  2. จัดทำรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานได้

กิจกรรมการเรียนการสอน

กิจกรรมที่นักศึกษาต้องทำสำหรับการเรียนการสอน ได้แก่

  1. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 4.1 และตอนที่ 4.2
  2. ทำกิจกรรมในแบบฝึกปฏิบัติบทเรียนที่ 4
  3. ทำแบบประเมินผลของบทเรียนที่ 4

สื่อการสอน

เอกสารการสอน

  1. เอกสารการสอน

ประเมินผล

  1. ประเมินผลจากกิจกรรมที่ทำ
  2. ประเมินผลจากคำถามท้ายบทเรียน