Back to Home

DataBase System

Lesson1235679101112131415

Lesson 4 : Normal Form



Lesson Plan
Section No.
Section 1
Section 2
Test
PDF file
PPT File


<<Prev pageCourse MapNext page>>

Print content of this page
Save content of this page

 

การทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน

หัวเรื่อง

เรื่องที่
2.1 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 1
2.2 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 2
2.3 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 3
2.4 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานของบอยส์และคอดด์
2.5 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 4
2.6 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 5
2.7 ข้อควรคำนึงในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน

แนวคิด

    1. รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 1 คือ ทุกแอททริบิวต์ในแต่ละทูเพิลมีค่าของข้อมูลเพียงค่าเดียว
    2. รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 2 คือ รีเลชันนั้นต้องมีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน ขั้นที่ 1 แล้ว และทุกแอททริบิวต์ที่ไม่ใช่คีย์หลักต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบฟังก์ชันกับคีย์หลักหรือแอททริบิวต์ที่ประกอบกันเป็นคีย์หลัก ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่ง รีเลชันนั้นต้องไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบบางส่วนเกิดขึ้น
    3. รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 3 คือ รีเลชันนั้นต้องมีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 2 แล้ว และทุกแอททริบิวต์ที่ไม่ใช่คีย์หลักไม่มีคุณสมบัติในการกำหนดค่าของแอททริบิวต์อื่นที่ไม่ใช่คีย์หลัก หรืออีกนัยหนึ่ง รีเลชันนั้นต้องไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบ Transitive เกิดขึ้น
    4. รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานของบอยส์และคอดด์ คือ ทุกแอททริบิวต์ที่เป็นตัวระบุค่า หรือ Determinant ในรีเลชันนั้นต้องเป็นคีย์คู่แข่ง และไม่มีแอททริบิวต์ใดในรีเลชันที่สามารถระบุค่าของแอททริบิวต์ที่เป็นคีย์หลักหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของแอททริบิวต์ที่ประกอบกันเป็นคีย์หลักได้
    5. รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 4 คือ รีเลชันนั้นต้องมีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานของบอยส์และคอดด์แล้ว และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบหลายค่า
    6. รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 5 คือ รีเลชันนั้นต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบ Join โดยรีเลชันย่อย ๆ ที่จำแนกออกมาต้องมีคีย์คู่แข่งของรีเลชันเดิมอยู่ด้วยเสมอ
    7. ข้อควรคำนึงในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน คือ การแตกรีเลชันมากเกินไปทำให้มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของฐานข้อมูล และการ Denormalization อาจทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล

วัตถุประสงค์

หลังจากศึกษาตอนที่ 4.2 แล้ว นักศึกษาสามารถ

    1. บอกรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานในแต่ละขั้นได้
    2. บอกข้อควรคำนึงในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานได้

 


Go to top

 

Last Updated: 12/13/2001 11:22:24 AM
© โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย