![]() |
|
![]() |
![]() |
Relational Calculusเมื่อผู้ใช้ทำการค้นหาข้อมูลโดยใช้ Relational algebra ผู้ใช้จะต้องกำหนดการกระทำและเงื่อนไขเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ จึงกล่าวได้ว่า Relational algebra เป็น procedural language เช่น การ Join แล้วตามด้วย Projection ด้วยการใช้ Relational calculus ผู้ใช้สามารถกำหนดรูปแบบการค้นหาในลักษณะของนิพจน์หรือสมการทางคณิตศาสตร์ที่มีตัวแปร ค่าคงที่ ตัวกระทำ ตัวเชื่อม และอื่นๆ Relational calculus จึงเป็นการใช้คณิตศาสตร์ในรูปของตรรกะเข้ามาช่วยในการค้นหาข้อมูล คำตอบที่ได้จากการใช้ Relational calculus ถือแถวของข้อมูลจากความสัมพันธ์ที่ทำให้ค่าของสมการคณิตศาสตร์นั้นมีค่าเป็น จริง เมื่อ R1, , Rk เป็นชุดของความสัมพันธ์ และความสัมพันธ์ Ri ประกอบไปด้วยแอททริบิวจำนวน n ตัว (A1, ,An) แล้ว Relational Calculus จะประกอบด้วยสมการทางตรรกะที่สร้างได้โดยการใช้
{ (A1, ,An) | p[(A1, ,An)] }
ตัวอย่าง สมการต่อไปนี้หมายความว่า ให้หาข้อมูล t1 ทุกแถวในความสัมพันธ์ EmpDept (รูปจากตาราง 2-10) ที่ทำให้มีบางแถวใน t2 ซึ่ง t2 อยู่ในความสัมพันธ์ Emp (รูปจากตาราง 2-11) และทั้ง t1 และ t2 มีค่าในคอลัมน์ Dept เหมือนกัน {t1 | ($ t2 )((t1 Î EmpDept) & (t2 Î Emp) & (t1 .Dept = t2.Dept)} |
|
|
|