








 

|
 |
แผนการสอนประจำบทเรียน
รายชื่ออาจารย์ผู้จัดทำ
สุนีย์
พงษ์พินิจภิญโญ
รายละเอียดของเนื้อหา
แนวคิด
- โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลด้วยแฟ้มข้อมูลประกอบด้วย
เรคอร์ด ฟิลด์ และไบต์
เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลด้วยแฟ้มข้อมูลมีข้อจำกัดอยู่มาก
และไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการนำข้อมูลมาใช้ในระดับสารสนเทศน์ได้อย่างสะดวก
จึงได้มีแนวความคิดในการจัดเก็บข้อมูลด้วยฐานข้อมูลมาใช้แทนแถวลำดับเป็นชนิดข้อมูลเชิงโครงสร้าง
ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลย่อยซึ่งต้องมีชนิดเดียวกัน
- ผู้ใช้งานฐานข้อมูลไม่จำเป็นต้องทราบว่าข้อมูลที่ตนต้องการเรียกดูนั้นถูกจัดเก็บอยู่อย่างไรในดิสค์
เมื่อต้องการข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะเป็นตารางก็สามารถอ้างชื่อตารางได้โดยตรง
เป็นหน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูลที่จะตรวจสอบว่าข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการถูกเก็บอยู่ที่ตำแหน่งใดในดิสค์
และทำการดึงข้อมูลนั้นจากหน่วยความจำสำรองมาให้แก่ผู้ใช้
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาบทเรียนจบแล้ว
นักศึกษาสามารถ
- อธิบายถึงโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลเชิงกายภาพซึ่งอยู่ในระดับภายใน
- บอกถึงลักษณะและคุณสมบัติของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
- บอกเทคนิคที่นำมาใช้ในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลให้เร็วขึ้น
กิจกรรมการเรียนการสอน
ศึกษาเอกสารการสอน
ทำกิจกรรมในแบบฝึกปฏิบัติบทเรียนที่
3
ทำแบบประเมินผลของบทเรียนที่
3
สื่อการสอน
เอกสารการสอนของชุดวิชา
แบบฝึกปฏิบัติ
บทความ/ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
CD-ROM
Homepage
ของชุดวิชาผ่านทางอินเตอร์เน็ต
เอกสารประกอบการสอน
Fundamentals of Database Systems, by
Ramez Elmasri, Shamkant B. Navathe, The Second Edition, 1994
Database System Concepts, by Abraham
Siberschaty, Henry F.Korth, S.Sudarshan, The Third Edition, 1991
ประเมินผล
ประเมินผลจากกิจกรรมที่ทำ
ประเมินผลจากคำถามท้ายบทเรียนและการสอนประจำภาคการศึกษา
|