Back to Home

DataBase System

Lesson1235679101112131415

Lesson 4 : Normal Form



Lesson Plan
Section No.
Section 1
Section 2
Test
PDF file
PPT File


แบบทดสอบบทเรียนที่ 4

คำชี้แจง :

จงทบทวนบทเรียนก่อนจนเข้าใจดีแล้ว จึงทำแบบทดสอบนี้ เวลาที่ใช้ในการทดสอบไม่เกิน 30 นาที โดยเลือกข้อที่ถูกเพียงข้อเดียว

1. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ รูปแบบหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบฟังก์ชัน
  ก.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบทั้งหมด
ข.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบบางส่วน
ค.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบหลายค่า
ง.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบ Transitive

2. รีเลชันการลงทะเบียนประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสนักศึกษา รหัสชุดวิชา ชื่อชุดวิชา และหมู่เรียน โดยมี แอททริบิวต์รหัสนักศึกษาและรหัสชุดวิชาประกอบกันเป็นคีย์หลัก และสามารถระบุความสัมพันธ์ระหว่าง แอททริบิวต์ในรูปของ FD ไดอะแกรมได้ดังนี้

อยากทราบว่า รีเลชันการลงทะเบียนมีความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบใด

  ก.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบทั้งหมด
ข.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบบางส่วน
ค.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบหลายค่า
ง.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบ Transitive

3. รีเลชันที่ปรึกษาประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา รหัสอาจารย์ และชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีแอททริบิวต์รหัสนักศึกษาเป็นคีย์หลัก และมีข้อมูลดังตัวอย่างด้านล่าง

รหัสนักศึกษา

ชื่อนักศึกษา

รหัสอาจารย์

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

41010703

สมชาย พลจันทร์

Q1059

สัมพันธ์ เย็นสำราญ

41010943

สุทิศา พินิจไพฑูรย์

Q1011

ศิริภัทรา เหมือนมาลัย

41012147

ณัฐพร ประคองเก็บ

Q1061

เมธี ปิยะคุณ

41012451

นพดล ทับทิมทอง

Q1035

ศิริชัย ศรีพรหม

41013327

มัทนา พินิจไพฑูรย์

Q1059

สัมพันธ์ เย็นสำราญ

41013780

สมชาย พลจันทร์

Q1011

ศิริภัทรา เหมือนมาลัย

อยากทราบว่า รีเลชันที่ปรึกษามีความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบใด

  ก.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบทั้งหมด
ข.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบบางส่วน
ค.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบหลายค่า
ง.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบ Transitive

4. รีเลชันการสอน-การปรึกษาประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสอาจารย์ รหัสชุดวิชาที่สอน และรหัสนักศึกษาใน การปรึกษา โดยมีแอททริบิวต์รหัสอาจารย์ รหัสชุดวิชาที่สอน และรหัสนักศึกษาในการปรึกษาประกอบกันเป็น คีย์หลัก และสามารถระบุความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์ได้ดังนี้

รหัสอาจารย์ --> รหัสชุดวิชาที่สอน

รหัสอาจารย์ --> รหัสนักศึกษาในการปรึกษา

อยากทราบว่า รีเลชันการสอน-การปรึกษามีความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบใด

  ก.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบทั้งหมด
ข.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบบางส่วน
ค.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบหลายค่า
ง.  ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบ Transitive

5. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ วัตถุประสงค์ในการทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน
  ก.  เพื่อลดปัญหาข้อมูลขาดความถูกต้องสมบูรณ์
ข.  เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จัดเก็บในแต่ละรีเลชัน
ค.  เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากการปรับปรุง เพิ่มเติม และลบข้อมูล
ง.  เพื่อสร้างมาตรฐานความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์ในแต่ละรีเลชัน

6. รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานในข้อใดที่ ไม่มี การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์
  ก.  รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 1
ข.  รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 2
ค.  รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 3
ง. 
รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานของบอยส์และคอดด์

7. ข้อใดต่อไปนี้เป็นคุณสมบัติของรีเลชันที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 2
  ก.  รีเลชันใด ๆ ที่มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 1 แล้ว และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง แอททริบิวต์เกิดขึ้น
ข.  รีเลชันใด ๆ ที่มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 1 แล้ว และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง แอททริบิวต์แบบ Transitive เกิดขึ้น
ค.  รีเลชันใด ๆ ที่มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 1 แล้ว และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง แอททริบิวต์แบบบางส่วนเกิดขึ้น
ง. 
รีเลชันใด ๆ ที่มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 1 แล้ว และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง แอททริบิวต์แบบหลายค่าเกิดขึ้น

8. ข้อใดต่อไปนี้เป็นคุณสมบัติของรีเลชันที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานของบอยส์และคอดด์
  ก.  รีเลชันใด ๆ ที่มีคีย์คู่แข่งตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป และคีย์คู่แข่งนั้นเป็นคีย์ผสมซึ่งมีแอททริบิวต์บางส่วนร่วมกัน
ข.  รีเลชันใด ๆ ที่มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 3 แล้ว และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง แอททริบิวต์แบบ Transitive เกิดขึ้น
ค.  ทุกแอททริบิวต์ที่เป็นตัวระบุค่าในรีเลชันนั้นต้องเป็นคีย์คู่แข่ง และไม่มีแอททริบิวต์ใดในรีเลชันที่สามารถระบุค่าของแอททริบิวต์ที่เป็นคีย์หลัก หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของแอททริบิวต์ที่ประกอบกันเป็นคีย์หลักได้
ง. 
รีเลชันใด ๆ ที่มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 3 แล้ว และไม่มีแอททริบิวต์ใดในรีเลชันที่สามารถระบุค่าของแอททริบิวต์ที่เป็นคีย์หลัก หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของแอททริบิวต์ที่ประกอบกันเป็นคีย์หลักได้

9. รีเลชันใด ๆ ที่มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานของบอยส์และคอดด์แล้ว และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างแอททริบิวต์แบบหลายค่า แสดงว่ารีเลชันนั้นมีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นใด
  ก.  รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 5
ข.  รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 4
ค.  รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 3
ง.  รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 2

10. การที่รีเลชันใด ๆ ถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นต่ำกว่ากฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นความหมาย ของข้อใด
  ก.  Decomposition
ข.  Overnormalization
ค.  Denormalization
ง.  ไม่มีข้อใดถูก

Go to top
   

Last Updated: 12/21/2001 01:42:58 PM
© โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย