![]() |
|
![]() |
|
![]() |
การจัดองค์กรของแฟ้มข้อมูลแบบเข้าถึงโดยตรงแฟ้มข้อมูลแบบเข้าถึงโดยตรงเป็นการจัดระบบข้อมูลให้สามารถเข้าถึงระเบียนหนึ่งระเบียนใดโดยตรงโดยไม่ต้องอ่านข้อมูลตั้งแต่ต้นอย่างเช่นแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ แฟ้มข้อมูลแบบเข้าถึงโดยตรงถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบแฟ้มสุ่ม ในแฟ้มสุ่ม เราสามารถคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างค่าของคีย์หลัก (primary key) กับตำแหน่งที่เก็บระเบียนนั้นๆในแฟ้มข้อมูล อย่างไรก็ตามระเบียนต่างๆในแฟ้มชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องเก็บเรียงตามลำดับของคีย์ ดังตัวอย่างในภาพ 9.1.2 แสดงโครงสร้างของแฟ้มสุ่ม ภาพ 9.1.2 แสดงโครงสร้างของแฟ้มสุ่มการคำนวณตำแหน่งของระเบียนโดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่าของคีย์กับตำแหน่งทางกายภาพสามารถเขียนเป็นฟังก์ชั่นได้ดังนี้ R(Key Value) ® address ทุกครั้งที่จะบันทึกระเบียนไว้ในแฟ้มจะต้องนำค่าคีย์ map ผ่านฟังก์ชั่น R เพื่อเปลี่ยนค่าคีย์ให้เป็น address ซึ่งเป็นตำแหน่งสำหรับบันทึกระเบียนนั้น และหากต้องการเรียกใช้ระเบียนหนึ่งระเบียนใดก็สามารถทำได้โดยการผ่านฟังก์ชั่น R เดียวกันนี้ ซึ่งจะเปลี่ยนค่าคีย์ให้กลายเป็น address และจะพบระเบียนที่ต้องการในตำแหน่งนั้น ตรงข้ามกับแฟ้มลำดับการเข้าถึงระเบียนในแฟ้มสุ่มนั้นไม่จำเป็นต้องเข้าถึงแบบลำดับ สามารถเข้าถึงระเบียนที่ต้องการได้โดยตรง ดังนั้นแฟ้มสุ่มจะต้องเก็บอยู่ในอุปกรณ์ชนิดที่เข้าถึงได้โดยตรงหรือแบบสุ่ม (Direct Access Storage Device) เช่น จานแม่เหล็ก ดรัมแม่เหล็ก การเข้าถึงแฟ้มสุ่มตามลำดับทางกายภาพนั้นทำได้แต่ข้อมูลที่ได้อาจไม่ได้เรียงตามลำดับของคีย์ เช่นข้อมูลในภาพ 9.1.2 จะได้ข้อมูลดังนี้ Cow, Zebra, ---, Ape, Eel, Cat, Bat เนื่องจากการเข้าถึงระเบียนในแฟ้มสุ่มสามารถเข้าถึงโดยตรงได้รวดเร็ว ดังนั้นแฟ้มสุ่มจึงเหมาะสมกับลักษณะสำหรับงานประเภทดังนี้
ข้อได้เปรียบของแฟ้มสุ่มคือความสามารถในการเข้าถึงระเบียนใดๆโดยตรงไปยังระเบียนที่ต้องการและสามารถเรียกใช้ ปรับปรุงระเบียนที่ต้องการโดยไม่กระทบต่อระเบียนอื่นๆในแฟ้มข้อมูล ระเบียนของแฟ้มสุ่มสามารถถูกเรียกใช้ ปรับปรุงค่าแล้วบันทึกกลับเข้าที่เดิมได้ |
|
|