Back to Home

DataBase System

Lesson123456791011121415

Lesson 13 : Distributed Database System



Lesson Plan
Section No.
Section 1
Section 2
Test
PDF file
PPT File


<<Prev pageCourse MapNext page>>

Print content of this page
Save content of this page

 

ความรู้เบื้องต้นของระบบจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย

ฐานข้อมูลแบบกระจายเป็นการเก็บข้อมูลไว้ในไซต์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบงานในลักษณะฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยข้อดีของระบบฐานข้อมูลแบบกระจายมีดังต่อไปนี้

  • การกระจายข้อมูลตามลักษณะระบบงาน(Distributed nature of some database applications) ระบบงานทางด้านฐานข้อมูลบางระบบงานเป็นลักษณะที่ข้อมูลมีการกระจายอยู่ในหลายๆ ที่ เช่นบริษัทที่มีหลาย ๆ สาขา หรือธนาคารที่มีหลาย ๆ สาขาเป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติของข้อมูลที่ใช้ในระบบงานดังกล่าว จะการกระจายอยู่ในสาขาต่าง ๆ
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือ(Increased reliability and availability) ในระบบฐานข้อมูลแบบกระจายเรามีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในหลาย ๆ ไซต์ นั่นคือเมื่อมีไซต์ใดไซต์หนึ่งเกิดความล้มเหลวขึ้นทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในไซต์นั้นได้ ระบบก็สามารถที่จะไปหาข้อมูลจากไซต์อื่นได้ ซึ่งแตกต่างจากระบบแบบรวมศูนย์ ถ้าไซต์เกิดล้มเหลว จะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เลย
  • การยอมให้มีการใช้ขอมูลร่วมกันได้ (Allowing data sharing while maintaining some measure of local control) นั่นคือในแต่ละไซต์สามารถที่จะยอมให้ผู้ใช้จากไซต์อื่นสามารถเข้าถึงข้อมูล ในขณะที่ไซต์กำลังจัดการกับข้อมูลและโปรแกรม
  • ปรับปรุงการทำงาน(Improved performance) กรณีที่มีข้อมูลมีจำนวนมาก และได้มีการกระจายข้อมูลไว้ในไซต์ต่าง ๆ ในการสืบค้นข้อมูลหรือการทำทรานแซกชันของแต่ละไซต์ จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งในการทำทรานแซกชันยังสามารถทำพร้อม ๆ กันได้มากกว่าหนึ่งไซต์ ทำให้การประมวลผลเป็นการประมวลผลแบบขนาน ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการประมวลผลลงไปได้

จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้การออกแบบและพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลแบบกระจายมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยในระบบจัดการฐานข้อมูลแบบกระจายจะต้องสนับสนุนหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น จากระบบจัดการฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ดังนี้

  • สามารถที่จะติดต่อไปยังไซต์อื่นๆและส่งแบบสอบถามและข้อมูลผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
  • สามารถที่จะเก็บข้อมูลของข้อมูลที่มีการกระจาย และข้อมูลที่มีการทำสำเนา ไว้ในแคตตาลอก ของ DDBMS ได้
  • สามารถวางแผนวิธีการสืบค้นข้อมูล และการทำทรานแซกชันที่มีการใช้ข้อมูลมากกว่า 1 ไซต์
  • สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเข้าถึงข้อมูลที่ได้มีการสำเนาไว้จากไซต์ไหน
  • สามารถที่จะจัดการความสอดคล้องของข้อมูลที่ได้มีการทำสำเนาไว้
  • สามารถที่จะกู้คืนข้อมูลจากไซต์ที่ล้มเหลวได้
 

 

Last Updated: 12/13/2001 11:29:25 AM
© โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย