Back to Home

DataBase System

Lesson1234679101112131415

Lesson 5 : Relational Database Design



Lesson Plan
Section No.
Section 1
Section 2
Section 3
Test
PDF file
PPT File


แบบทดสอบบทเรียนที่ 5

คำชี้แจง :

จงทบทวนบทเรียนก่อนจนเข้าใจดีแล้ว จึงทำแบบทดสอบนี้ เวลาที่ใช้ในการทดสอบไม่เกิน 30 นาที โดยเลือกข้อที่ถูกเพียงข้อเดียว

1. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ หน้าที่ของพจนานุกรมข้อมูล
  ก.  เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ข.  เพื่อควบคุมความบูรณภาพของข้อมูล
ค.  เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล
ง.  เพื่อควบคุมการใช้ฐานข้อมูลพร้อมกันจากผู้ใช้หลายคน

2. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ถูกต้อง
  ก.  พจนานุกรมข้อมูลเป็นเอกสารเพื่อการอ้างอิงสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ข.  ประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูลในระดับองค์กร คือ สนับสนุนการบริหารจัดการฐานข้อมูลขององค์กร
ค.  พจนานุกรมข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้บริหาร และสร้างมาตรฐานในการพัฒนาระบบงาน
ง.  ประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูลในระดับระบบงาน คือ สนับสนุนการจัดทำงบประมาณเกี่ยวกับระบบงานคอมพิวเตอร์

3. พจนานุกรมข้อมูลของระบบงานหนึ่ง ๆ ที่ระบบจัดการฐานข้อมูลดำเนินการสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ เป็นลักษณะของพจนานุกรมตามข้อใด
  ก.  พจนานุกรมแบบ Active
ข.  พจนานุกรมแบบ Alien
ค.  พจนานุกรมแบบ Passive
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.

4. การออกแบบฐานข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและ/หรือโปรแกรมที่มีการใช้งานอยู่แล้วภายในหน่วยงาน ต่าง ๆ ขององค์กรมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลขององค์กร เป็นการออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีใด
  ก.  การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีอุปนัย
ข.  การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีนิรนัย
ค.  การออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด
ง.  การออกแบบฐานข้อมูลในระดับภายในหรือเชิงกายภาพ

5. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ ส่วนหนึ่งในการรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ข้อมูล
  ก.  การศึกษาและวิเคราะห์องค์กร
ข.  การศึกษาและวิเคราะห์ระบบการจัดการข้อมูลเดิม
ค.  การพิจารณาคุณสมบัติของระบบจัดการฐานข้อมูล
ง.  การกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของฐานข้อมูล

6. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ ปัจจัยที่บทบาทต่อการพิจารณาเพื่อตัดสินใจเลือกระบบจัดการฐานข้อมูล
  ก.  โครงสร้างของฐานข้อมูล
ข.  ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ค.  วัตถุประสงค์และขอบเขตของฐานข้อมูล
ง.  คุณสมบัติของซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล

7. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ ขั้นตอนหนึ่งในการออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด
  ก.  การกำหนดรีเลชันและความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชัน
ข.  การรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ข้อมูล
ค.  การทำให้รีเลชันมีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน
ง.  การกำหนดลักษณะและขอบเขตของข้อมูลที่สามารถจัดเก็บได้ในแต่ละแอททริบิวต์ รวมทั้งข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ

8. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหมายถึง Composite Key
  ก.  แอททริบิวต์หรือกลุ่มของแอททริบิวต์ที่มีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก แต่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นคีย์หลัก
ข.  แอททริบิวต์ที่มีค่าเป็นเอกลักษณ์หรือมีค่าไม่ซ้ำซ้อนกัน ทำให้สามารถระบุค่าของแอททริบิวต์อื่นใน ทูเพิลหนึ่ง ๆ ได้
ค.  แอททริบิวต์ในรีเลชันหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงอ้างอิงถึงแอททริบิวต์ที่เป็นคีย์หลักในอีกรีเลชันหนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กันได้
ง.  กลุ่มของแอททริบิวต์ที่นำมาประกอบกันเพื่อให้มีค่าเป็นเอกลักษณ์ ทำให้สามารถระบุค่าของแอททริบิวต์อื่นในทูเพิลหนึ่ง ๆ ได้

9. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ถูกต้อง
  ก.  วัตถุประสงค์ในการออกแบบโครงร่างของฐานข้อมูลในระดับแนวคิด คือ เพื่อกำหนดโครงสร้างพื้นฐานและรายละเอียดทั้งหมดของฐานข้อมูล
ข.  หากความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีเป็นความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่มจะต้องทำการแปลงเป็น ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
ค.  หากความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชันเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ให้เพิ่มคีย์หลักของรีลเชันหนึ่งลงไปเป็นแอททริบิวต์ในอีกรีเลชันหนึ่ง
ง.  การทำให้แต่ละรีเลชันให้มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานนั้นจะสิ้นสุด เมื่อรีเลชันมีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบที่เป็นบรรทัดฐานขั้นที่ 3

10. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาในการออกแบบระบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ
  ก.  ความเร็วในการเรียกใช้ข้อมูล
ข.  การใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล
ค.  การกำหนดการอ้างอิงระหว่างตารางข้อมูล
ง. ค่าเฉลี่ยของจำนวนรายการที่ประมวลผลได้ในหนึ่งนาที

Go to top
   

Last Updated: 12/13/2001 02:16:59 PM
© โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย