![]() |
|
![]() |
|
![]() |
ชนิดและโครงสร้างของตัวดัชนีจากพัฒนาการของอุปกรณ์ชนิดเข้าถึงโดยตรงได้ ทำให้เราสามารถดัดแปลงแฟ้มลำดับให้เป็นแฟ้มที่เข้าถึงระเบียนได้ทั้งแบบลำดับและแบบสุ่มโดยผ่านคีย์หลัก แฟ้มข้อมูลดังกล่าวคือแฟ้มลำดับเชิงดัชนี ระบบแฟ้มลำดับเชิงดัชนีคือวิธีการจัดเก็บระเบียนให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถเข้าถึงระเบียนแบบลำดับโดยคีย์บางตัว ในขณะเดียวกันก็สามารถเข้าถึงระเบียนหนึ่งระเบียนใดแบบสุ่มโดยคีย์ตัวเดียวกันนั้น ข้อกำหนดที่สำคัญสำหรับแฟ้มข้อมูลชนิดนี้คือทุกระเบียนจะต้องมีคีย์ และแฟ้มข้อมูลจะต้องเก็บอยู่ในอุปกรณ์ Direct Access Storage Device (DASD) ส่วนดัชนีในระบบฐานข้อมูลนั้นเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ทำให้ระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถค้นหาระเบียนในแฟ้มข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น เพื่อตอบสนองการสอบถามข้อมูลของผู้ใช้ แฟ้มข้อมูลที่ประกอบไปด้วยระเบียนเชิงตรรกเรียกว่าแฟ้มข้อมูล ส่วนแฟ้มข้อมูลที่ประกอบไปด้วย โครงสร้างของแฟ้มลำดับเชิงดัชนีเป็นแฟ้มลำดับที่มีส่วนของดัชนีคอยชี้ตำแหน่งระเบียน โครงสร้างของส่วนดัชนีเป็นแบบ binary search tree เราใช้ดัชนีช่วยทางด้านการเข้าถึงระเบียนเฉพาะราย ในขณะที่ส่วนของแฟ้มลำดับใช้บริการด้านการเข้าถึงแบบลำดับ การจัดโครงสร้างของแฟ้มลำดับเชิงดัชนีมี 2 วิธี คือ
2.1 ส่วนดัชนี (index file) เป็นส่วนที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่านคีย์หลักอย่างสุ่ม 2.2 ส่วนเก็บข้อมูล มีโครงสร้างแบบแฟ้มลำดับ และประกอบด้วยระเบียนข้อมูล 2.3 เนื้อที่ส่วนเผื่อขยาย (overflow area) มีไว้สำหรับเก็บระเบียนที่จะแทรกเข้าไปใหม่ โดยไม่ต้องคัดลอกแฟ้มใหม่อย่างที่ทำกันในแฟ้มลำดับ การเข้าถึงแฟ้มลำดับเชิงดัชนีอาจทำได้ทั้งแบบลำดับและแบบสุ่ม ถ้าเป็นการเข้าถึงแบบลำดับนั้น ระเบียนต่างๆจะถูกเรียกใช้ในลักษณะเดียวกับแฟ้มลำดับ การเข้าถึงแบบลำดับสามารถเริ่มที่ระเบียนใดก็ได้ |
|
|