Back to Home

DataBase System

Lesson1234567101112131415

Lesson 9 : Physical Data Management



Lesson Plan
Section No.
Section 1
Section 2
Section 3
Test
PDF file
PPT File


<<Prev pageCourse MapNext page>>

Print content of this page
Save content of this page

 

ประเภทของเทคนิคที่นำตัวดัชนีมาใช้ในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลให้เร็วขึ้น

เทคนิคการจัดระบบแฟ้มข้อมูลที่ยอมให้เข้าถึงระเบียนได้โดยใช้คีย์มากกว่า 1 ตัวโดยที่จะพยายามให้มีเส้นทางเข้าถึงแฟ้มข้อมูลเดียวกันผ่านคีย์ต่างๆกัน (multi-key files) เทคนิคการจัดแฟ้มข้อมูลเช่นนี้เป็นเรื่องการปฏิบัติจริงในระบบฐานข้อมูล ในแฟ้มลำดับ, แฟ้มสุ่ม แฟ้มลำดับเชิงดัชนีล้วนเป็นแฟ้มที่เข้าถึงระเบียนโดยผ่านคีย์หลัก

เทคนิคที่ใช้กับการผ่านคีย์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการสร้างดัชนี เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง เทคนิค 2 วิธีที่ใช้ในการเชื่อดัชนีกับระเบียนในแฟ้มข้อมูลคือ

  1. Inversion ระบบแฟ้มข้อมูลชนิดนี้ ช่วยขยายความสามารถในการเรียกใช้ข้อมูลของระบบ อย่างไรก็ตามความสามารถที่เพิ่มขึ้นนี้จะต้องชดเชยด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสำหรับการปรับปรุงข้อมูลและเนื้อที่ของส่วนดัชนีโดยใช้วิธี inversion เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีกับระเบียนในแฟ้มข้อมูล ระบบแฟ้มข้อมูลชนิดนี้ประกอบด้วย
  2. 1.1 ส่วนของแฟ้มข้อมูล ซึ่งอาจจัดเก็บในแฟ้มสุ่ม หรือแฟ้มลำดับเชิงดรรชนี

    1.2 ส่วนดัชนี (inversion index) ประกอบด้วยค่าของคีย์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดในแฟ้มข้อมูลและตัวชี้ (pointer) บอกตำแหน่งของระเบียนข้อมูลทั้งหมดที่สัมพันธ์กับค่าคีย์นั้น

  3. Multi-key files ประกอบด้วยส่วนของแฟ้มข้อมูลและส่วนดัชนีโดยในส่วนของดัชนีของแต่ละคีย์รองประกอบด้วยค่าของคีย์รองและตัวชี้ซึ่งมีเพียงตัวเดียวเท่านั้น แนวคิดของการเข้าถึงแบบ multi-key ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปมักจะสร้างดัชนีเพื่อช่วยจัดเตรียมเส้นทางเข้าถึงระเบียน เช่นเราอาจจัดดัชนีเป็นตาราง binary search tree หรือ B-Tree วิธีที่เหมาะสมในการปฏิบัติจริงกับ multi-key file แบบหนึ่งแบบใดขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการใช้งานจริง และชนิดของ multi-key file ที่มีให้ใช้ในระบบการประมวลผลของหน่วยงานนั้น
 

 

Last Updated: 12/13/2001 11:21:55 AM
© โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย